แพลงก์ตอน น๊อกติลูกา

ADS-cable-tv-website-6-12-61-(แก้)

 

footer_master

จากที่มีการแชร์กันตามสื่อโซเชี่ยล กับภาพแพลงก์ตอนเรืองแสง ที่พบในทะเลแถบพันท้ายนรสิงห์ บริเวณสะพานแดงนั้น เมื่อวานนี้ศูนย์วิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขตที่2 ได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปเก็บตัวอย่างมาพิสูจน์ โดยพบว่าแพลงก์ตอนที่พบคือ แพลงก์ตอน น๊อกติลูกา ซึ่งทางด้านนายสุภาพ ไพรพนาพงศ์  ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เขตที่2 ให้ข้อมูลว่าว่า แพลงก์ตอนชนิดนี้ เป็นแพลงก์ตอนพืช และช่วงนี้ที่พบมากเนื่องจากที่ผ่านมามีการระบายน้ำลงมาจากทางตอนบนทำให้มีแร่ธาตุและสารอาหารมีเหมาะกับการเจริญเติบโต จึงทำให้เกิดการบลูมขึ้นมา โดยจะพบว่าพื้นที่ที่เกิดการบลูมในตอนกลางวันจะพบเป็นสีเขียวลอยอยู่ผิวน้ำ แต่หากดูในเวลากลางคืนก็จะเห็นว่ามีการเรืองแสง สำหรับอายุของมันก็จะอยู่ได้ประมาณหนึ่งสัปดาห์ก็จะตายและช่วงนี้ก็จะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตมากที่สุด อีกไม่กี่วันก็จะทยอยตาย ซึ่งเกษตรกรก็คงทราบกันดีว่า ไม่ควรปล่อยน้ำเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพราะช่วงที่มันตายก็จะทำให้น้ำเน่าเสีย ค่าออกซิเจนในน้ำจะต่ำลงด้วย มีผลทำให้สัตว์น้ำที่เลี้ยงไว้ตาย    ส่วนจะมีการบลูมแบบนี้เกิดขึ้นอีกหรือไม่ก็อยู่ที่สภาพแวดล้อม ว่าจะมีน้ำหรือแร่ธาตุเหมาะสมกับการเจริญเติบโตอีกหรือไม่

 

footer_master

footer_master footer_master footer_master

เอเซีย/ ภาพ  พรเพ็ญ / ข่าว