รมว.แรงงานเยี่ยมศูนย์ต่างด้าว พบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงาน

AD WEB NET แก้ไข 3-11-60

พี่เมธ - เยี่ยมแรงงานพม่า 1

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายจรินทร์ จักกะพาก  ปลัดกระทรวงแรงงาน  คณะผู้บริหารกระทรวง อธิบดีกรมการจัดหางานและคณะ ได้เดินทางเข้าตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคลสัญชาติเมียนมาของจังหวัดสมุทรสาคร ที่ศูนย์บริการเพื่อการทำงานของคนต่างด้าว ณ ตลาดทะเลไทย และภัตตาคารนิวเฟรนด์ ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนในปี 2561 ที่จะเร่งรัดให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวกลุ่มที่ไม่มีเอกสารได้ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม  2561 เพื่อป้องกันปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานผิดกฎหมาย และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน

พี่เมธ - เยี่ยมแรงงานพม่า 3

ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ได้มีการติดตามกระบวนการของศูนย์ทั้ง 2 แห่ง ตั้งแต่ออกเอกสารรับรองบุคคลของทางการเมียนมา , การตรวจสุขภาพและทำประกันสุขภาพโดยกระทรวงสาธารณสุข , การตรวจลงตราวีซ่า ของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และการออกใบอนุญาตทำงาน โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

ทั้งนี้จากข้อมูลของกรมการจัดหางาน ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2560 พบว่า ยังมีแรงงานต่างด้าวสัญชาติ เมียนมา ลาวและกัมพูชา ที่ต้องเข้ารับการตรวจสัญชาติอีกจำนวนกว่า 1.9  ล้านคน แยกเป็นกลุ่มประมงและแปรรูปสัตว์น้ำ กลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบ คัดกรอง ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง และกลุ่มบัตรสีชมพูที่ใบอนุญาตหมดอายุ 31 มีนาคม 2561        ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากกว่าสองกลุ่มแรก คือมีจำนวนกว่าหนึ่งล้านหนึ่งแสนคน

จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ ยังได้ไปตรวจเยี่ยมการทำงานของศูนย์ควบคุมแจ้งการเข้าออกเรือประมง  ที่องค์การสะพานปลา ต.มหาชัย อ.เมืองสมุทรสาคร เพื่อรับฟังกระบวนการทำงาน ผลการดำเนินงาน สภาพปัญหาของศูนย์ และติดตามแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายด้านแรงงานตาม IUU Fishing

พี่เมธ - เยี่ยมแรงงานพม่า 2

ต่อมารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การตรวจเยี่ยมในครั้งนี้ พบว่า ทางจังหวัดสมุทรสาครมีการเตรียมความพร้อมทุกขั้นตอน มีการจัดเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและจัดระบบการทำงานได้ดีกว่าที่จังหวัดสมุทรปราการ แต่ก็ยังมีปัญหาในบางส่วนที่ต้องนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไข ซึ่งก็จะนำเข้าสู่ที่ประชุมของกระทรวงแรงงานต่อไป โดยในส่วนของศูนย์พิสูจน์สัญชาติ ปัญหาที่พบได้แก่ เรื่องของการจัดลำดับคิวเพื่อให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้น การลดขั้นตอนการตรวจพิสูจน์สัญชาติในกลุ่มบัตรสีชมพู การตรวจสุขภาพและการปฏิบัติงานอื่นๆ ที่สามารถทำไปพร้อมๆกันได้ การขยายช่วงเวลาในการทำงานแต่ละวันเพื่อเพิ่มปริมาณคนที่จะมาเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติให้ได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนการเพิ่มชุดโมบายให้มากกว่า 2 ชุดที่มีอยู่เดิม ซึ่งหากทุกฝ่ายบูรณาการร่วมกันก็จะทำให้เกิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนที่องค์การสะพานปลา ซึ่งมาดูเกี่ยวกับเรื่องของการจัดระเบียบเรือเข้าออก และแรงงานประมงนั้น ก็พบว่า ทางผู้รับผิดชอบได้มีการวางแนวทางไว้เป็นอย่างดีแล้ว แต่สิ่งที่ยังขาดแคลนคือ ล่ามผู้แปลภาษาแรงงานต่างด้าว ซึ่งก็จะเพิ่มตรงนี้เข้ามา เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกัน

สุเมธ/ภาพ/ข่าว