เวทีเรียนรู้

AD WEB CCTV

 

vk เวทีเรียนรู้ 1

ที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา  นายชาญคงกิจ  จันทร์เกษม  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าเสา  เป็นประธานเปิดเวทีเรียนรู้การป้องกันกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว  พร้อมทั้งมีนายวิโรจน์  ชะริทอง  หัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช  และทีมงานสำนักงานเกษตรจังหวัดสมุทรสาคร  พร้อมด้วยเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในตำบลท่าเสาเข้าร่วม  เพื่อช่วยกันป้องกันการระบาดและกำจัดหนอนหัวดำมะพร้าว  ศัตรูตัวร้ายของชาวสวนมะพร้าว

vk เวทีเรียนรู้ 2

                                ช่วงแรกหัวหน้ากลุ่มอารักขาพืช  ได้บรรยายถึงการเข้ามาของหนอนหัวดำมะพร้าว  ซึ่งเป็นศัตรูพืชในต่างประเทศ  และมีการสันนิษฐานว่าติดเข้ามาในประเทศไทยโดยผ่านการนำเข้าต้นปาล์ม  เจอครั้งแรกในปี 2551 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ซึ่งมีการระบาดอย่างรวดเร็วมาก  และมาสู่สมุทรสาครในช่วงปลายปี 2554   ทั้งนี้ได้มีการนำเรื่องการระบาดของหนอนหัวดำมะพร้าวเข้าสู่ ครม. แล้ว  และ ครม. ก็ได้อนุมัติงบมาเพื่อให้ปฏิบัติการป้องกันกำจัดหนอนหัวดำให้ไม่มีที่ยืนใน 29 จังหวัด  บนพื้นที่ 78,954 ไร่  ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2560  ส่วนในเดือนมีนาคมนี้ได้เร่งจัดเวทีเรียนรู้ให้เกษตรกรได้รับรู้ข้อมูลและเตรียมตัวก่อน  เนื่องจากหนอนหัวดำมีการเปลี่ยนแปลงปรับสภาพตัวเองอยู่ตลอด  ทำให้การใช้วิธีแก้ไขแบบเดิมไม่ค่อยได้ผล

vk เวทีเรียนรู้ 4

ในเรื่องของการป้องกันและกำจัดนั้น  ได้มีการศึกษาจากทางเจ้าหน้าที่เกษตรมาแล้วพบว่า  หนอนหัวดำจะสร้างใยผสมกับมูลทำเป็นอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินคลุมเส้นทางและพบว่าปัจจุบันสร้างหนาขึ้นถึง 3 ชั้น  มักจะแทะกินใบมะพร้าวใบแก่  โดยกัดกินและดูดน้ำเลี้ยงจากใบมะพร้าว   ผลที่ชาวสวนได้รับคือผลผลิตลดลง  และอาจจะทำให้ต้นมะพร้าวตายได้  โดยวิธีการควบคุมนั้นมีหลายวิธี เช่น การตัดทางใบ  แต่วิธีนี้ทางเกษตรกรจะไม่ค่อยนิยมทำ  เพราะทางใบมีผลต่อผลผลิตที่จะเกิดขึ้น  แต่สามารถทำได้กรณีที่ทางใบนั้นเสียไปเยอะแล้ว  โดยทำการควบคู่กับการใช้เชื้อแบคทีเรีย BT ฉีดพ่นที่บริเวณใบ  รวมถึงปล่อยแตนเบียนเพื่อควบคุม กำจัด และสร้างสมดุลทางธรรมชาติ  คือ   แตนเบียนไข่ตริโกร-แกรมม่า  แตนเบียนบราคอน  แตนเบียนโกนีโอซัสนีแฟนติดิส  และกรณีใช้สารเคมีฉีดพ่นทางใบ  มีสารเคมี 2 ตัว ที่ยังพอใช้ได้และกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด คือ สารคลอแรนทรานิลิโพร์ล  และสารฟลูเบนไดเอไมด์  เกษตรกรควรเลี้ยงแตนเบียนบราคอน  และปล่อยอย่างเพียงพอในอัตราอย่างน้อย 200 ตัวต่อไร่  ทุก 15 วัน ติดต่อกัน 6 เดือน  รวมถึงต้องมีการบรูณาการและติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างต่อเนื่องด้วย

vk เวทีเรียนรู้ 3

                                                                                     ไกรสร / ภาพ  วีรวรรณ / ข่าว