บุกตรวจโรงหลอมเถื่อน

AD WEB CCTV 14-6-60

 

 

footer_master

เมื่อเวลาประมาณ 12.00 น. ของวันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ร้อยตำรวจเอกวิเชียร สุขนันทฬส รองสารวัตรปราบปรามกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง, กอ.รมน.จังหวัดสมุทรสาคร, สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร,ตำรวจชุดสืบสวน สภ.เมืองสมุทรสาคร บุกเข้าตรวจโรงหลอมตะกั่วในพื้นที่ตำบลนาโคก เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่าได้รับผลกระทบเรื่องกลิ่น ซึ่งโรงงานแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ 4 ตำบลนาโคก ติดริมทะเล โดยระหว่างเข้าพื้นที่ เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสกัดรถกระบะที่กำลังวิ่งออกมา ซึ่งพบว่า มีแท่งตะกั่วอยู่หลังกระบะจำนวน 21 แท่ง คนขับคือนาย บุญช่วย จารลงศิริชัย ซึ่งเป็นคนเดียวกับเจ้าของโรงรับซื้อของเก่าที่นำกากอุตสาหกรรมไปขายซึ่งจับได้ริมถนนพระรามสอง เมื่อวันจันทร์ที่ 2 กรกฎาคมที่ผ่านมา จากนั้นเจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวไปสอบสวนที่บริเวณโรงหลอมตะกั่วที่กำลังเข้าไปตรวจ พร้อมทั้งได้ประสานผู้นำท้องถิ่น ร่วมเข้าตรวจสอบด้วย เมื่อไปถึงโรงหลอมตะกั่ว ก็พบว่ามีแรงงานต่างด้าว 3 คนกำลังทำงาน และตรวจพบแม่พิมพ์ตะกั่ว 25 ชิ้น แท่งตะกั่วหลอมแล้วจำนวน 17 แท่ง นำหนักแท่งละ 25 กิโลกรัม เจ้าของบอกว่า จำหน่ายในระราคาแท่งละ 1,200 บาท นอกจากนั้นยังพบถุงบิ๊กแบ็กที่บรรจุเศษวัสดุวางตั้งอยู่                          จากการสอบถาม  นายบุญช่วย จารลงศิริชัย ที่รับเป็นเจ้าของ บอกว่า โรงแห่งนี้ได้เปิดดำเนินการมาหลายปีแล้ว แต่ไม่ได้เปิดเตาหลอมทุกวัน ที่ทำนั้นก็เป็นธุรกิจเล็กๆภายในครอบครัว ซึ่งคิดว่าไม่น่าจะมีความผิดอะไร และมีการขออนุญาตกับทางพื้นที่ด้วย แต่เอกสารนั้นไม่ได้ติดตัวมา จึงได้ให้คนไปเอาเอกสารมายืนยัน และเมื่อเอกสารมาถึง เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพบว่า เอกสารที่ขออนุญาตก่อสร้างนั้น เป็นเลขที่บ้านของนายบุญเจริญ กงม้า ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่ในชุมชน ไม่ใช่พื้นที่ตรงนี้ และทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 ตำบลนาโคกก็แจ้งว่า พื้นที่ตรงนี้ไม่มีการขอใช้น้ำและไฟแต่อย่างใด เป็นพื้นที่ที่ไม่มีเลขที่ ดังนั้น โรงหลอมตะกั่วตรงนี้จึงไม่มีการขออนุญาตใดๆทั้งสิ้น ทางเจ้าหน้าที่จึงได้เชิญเจ้าของไปที่ สภ.บางโทรัดเพื่อชี้แจงความผิดในครั้งนี้

ส่วนเรื่องการลุกล้ำพื้นที่ป่าชายเลนหรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้มีการจับพิกัดทำให้ทราบว่าอยู่ในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ ส่วนแรงงานต่างด้าวที่พบ มีบัตรประจำตัว แต่ต้องเรียกไปตรวจสอบอีกทีว่ามีความผิดเรื่องพื้นที่ทำงานหรือผิดนายจ้างหรือไม่

 

 

 

footer_master footer_master footer_master

เอเซีย  ภาพ / พรเพ็ญ ข่าว