ชิคุนกุนยา โรคที่มากับยุงร้าย

WEB-02

 

 

tp-ชิคุนกุนยา1

 

โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ “ชิคุนกุนยา” จากรายงานในระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2557-2561 ของกระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยสูงสุดในปี 2561 อัตราป่วย 5.40 ต่อประชากรแสนคน ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต ส่วนข้อมูลในปีนี้คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-30 ตุลาคม 2562 พบผู้ป่วยสะสม 8,774 ราย อัตราป่วย 13.23 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าในปีที่ผ่านๆมาถึง 14 เท่า และพบได้ในทุกกลุ่มวัย สูงสุดจะอยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี รองลงมาคืออายุ 5-14 ปี

ส่วนในจังหวัดสมุทรสาคร ตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 ตุลาคม 2562 พบผู้ป่วย 90 ราย จัดอยู่ในอันดับที่ 4 ของเขตสุขภาพที่ 5 โดยลำดับหนึ่งของเขตได้แก่จังหวัด เพชรบุรี ซึ่งมีผู้ป่วย 261 คน ยังไม่พบการเสียชีวิต

จากการสอบถามนายแพทย์สุรพล อริยปิติพันธ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร ได้ชี้แจงว่าโรคชิคุนกุนยา ถือว่าเป็นโรคประจำถิ่นที่มีอยู่แล้ว แต่ปีนี้มีผู้ป่วยมากขึ้น อย่างไรก็ยังน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกอยู่ดี ความร้ายแรงของชิคุนกุนยาก็ยังไม่พบการเสียชีวิต ร้ายแรงสุดคือพิษที่หลงเหลือที่ทำให้เกิดความทรมานนั่นก็คือ การปวดข้อ และการระบาดของโรคนั้นก็มียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญตอนนี้ก็คือ ต้องช่วยกันทำให้ยุงลายลดน้อยที่สุด ด้วยการสำรวจบ้านอย่าให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จึงจะเป็นการตัดห่วงโซ่ชีวิตได้ ส่วนการเข้าไปฉีดพ่นหมอกควันนั้น เป็นการกำจัดยุงตัวแก่ได้ทางหนึ่ง แต่ไม่สามารถฆ่าไข่ยุงหรือลูกน้ำได้ ดังนั้นเจ้าของบ้านต้องร่วมมือกันกำจัดด้วยการอย่าทำให้ยุงเกิดด้วย

และสำหรับใครที่รู้สึกว่ามีไข้ กินอาหารได้น้อย อ่อนเพลีย และปวดข้อ สงสัยว่าจะเป็นโรคชิคุนกุนยาให้รีบมาหาหมอ ยิ่งรักษาเร็วก็ยิ่งปลอดภัย

 

 

 

tp-ชิคุนกุนยา2

 

 

 

tp-ชิคุนกุนยา3 tp-ชิคุนกุนยา4

เอเชีย ภาพ / พรเพ็ญ ข่าว