คิกออฟ ปลอดภัยไร้ตะกั่ว

AD-WEB-CCTV-6-12-61

footer_master

ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร แพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศ ผู้อํานวยการสํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิดตัวโครงการสาธารณสุขห่วงใยร่วมพัฒนากายใจวัยเด็ก “เด็กฉลาด ปลอดภัย ห่างไกลสารตะกั่ว” มอบเป็นของขวัญให้เด็กไทยทั่วประเทศ ซึ่งได้จัดที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นที่แรก โดยมีดร.อรพันธ์ อันติมานนท์ รองประธานโครงการเด็กฉลาด ปลอดภัย ห่างไกลสารตระกั่ว ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาวิชาการอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน

แพทย์หญิงฉันทนา ผดุงทศ ผู้อํานวยการสํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า  กรมควบคุมโรค สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดกิจกรรมรณรงค์และประชาสัมพันธ์ เพื่อเปิดตัวโครงการสาธารณสุขห่วงใย ร่วมพัฒนากายใจวัยเด็ก “เด็กฉลาด ปลอดภัย ห่างไกลสารตะกั่ว” ขึ้นที่ โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นที่แรก โดยภายในงานได้มีกิจกรรม การเจาะคัดกรองหาสารตะกั่วในเลือดของเด็กแรกเกิด ถึง 5 ปี กิจกรรมวัดระดับสติปัญญา และการ X-ray ของเล่นเด็กหาสารตะกั่วที่ปนเปื้อน

ซึ่งการจัดโครงการนี้เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากสารตะกั่ว ช่องทางการสัมผัส และแนวทางการป้องกันให้ เด็กไทยปลอดภัย และห่างไกลจากสารตะกั่วที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน และมีการรวบรวม สถานการณ์และจัดทําฐานข้อมูลการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กไทยมีสุขภาพดี มีสติปัญญา พัฒนากา ร่างกายและสมองที่สมวัย

สําหรับคําแนะนําในการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก ได้แก่  เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผสมสารตะกั่ว เช่น สีน้ำทาภายในอาคาร ของเล่นเด็ก ที่ได้มาตรฐาน มอก., ควรทําความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้หรือของเล่นเด็กด้วยผ้าชุบน้ำเป็นประจํา หากสีถลอก หลุดออกมาควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน, ควรให้เด็กล้างมือก่อนรับประทานอาหารหรือหลังจากคลานตามพื้นวิ่งเล่นนอกสนาม, ควรส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและแคลเซียม สูง ไขมันต่ำ เช่น นมจืด วันละ 2 กล่อง ไข่วันละ 1 ฟอง, หลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กไปบริเวณที่มีสารตะกั่ว เช่น บ่อเผาขยะ ร้านคัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์ และหากสังเกตพบอาการผิดปกติของเด็ก เช่น ซีดมาก ชัก ปวดท้อง พัฒนาการช้า ควรปรึกษาแพทย์ทันที หากประชาชน พ่อแม่ ผู้ปกครองที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สํานักโรคจากการ ประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โทร. 0 2590 3866               

footer_master footer_master footer_master footer_master footer_master

   เอเซีย/ ภาพ  พรเพ็ญ / ข่าว