รอง ผบ.ตร.ลุยตรวจโรงงานต้นตอนำเข้าขยะพิษ 4 ตู้คอนเทนเนอร์

AD WEB NET แก้ไข 3-11-60

footer_master

เมื่อเวลาประมาณ 11.00 น.ของวันที่ 2 มิถุนายน 2561 พล.ต.อ.วิระชัย   ทรงเมตตา รอง ผบ.ตร. พร้อมด้วย ผู้แทนจากกรมโรงงาน กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้นำหมายศาลจังหวัดสมุทรสาคร เข้าตรวจค้นโรงงานต้นตอของการนำเข้าขยะพิษ 4 ตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งตรวจพบที่บริเวณท่าเทียบเรือแหลมฉบังเมื่อวันก่อน  และยังพบว่ามีการสำแดงเท็จด้วย  โดยในวันนี้ก็ได้เข้าตรวจที่บริษัท ลองลัค พลาสติก แอนด์ เมทัล จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 77/7 ม.2 ต.กาหลง   อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ซึ่งบริษัทฯ แห่งนี้มีลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ

footer_master

จากการตรวจสอบหลักฐานการขออนุญาตประกอบกิจการ ก็พบว่าได้ทำการขออนุญาตต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อเป็นสถานประกอบกิจการประเภทคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว  ที่ไม่เป็นของเสียอันตราย เช่น เศษพลาสติก เศษกระดาษ และเศษโลหะ และทำพลาสติกเป็นเม็ด หรือรูปทรงต่างๆ ทำผลิตภัณฑ์พลาสติก เช่น กระถางต้นไม้ ถุงบรรจุขยะ ถังพลาสติก กำลังเครื่องจักร 674.10 แรงม้า  มีคนงาน 25 คน แต่จากการเข้าตรวจค้นกลับพบว่า ภายในโรงงานไม่มีคนงานมาทำงานแม้แต่คนเดียว ทั้งที่เป็นวันทำงานปกติ  มีเพียงแม่บ้านและคนเฝ้าโรงงาน สัญชาติเมียนมา 2 คนที่อยู่ภายในโรงงาน นอกนั้นมีแต่เครื่องจักรกับกองพลาสติก วัสดุที่ใช้ในกระบวนการผลิต และของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิตเพื่อรอไปทำลายเท่านั้น

footer_master

ซึ่งทางด้านของรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ได้เข้าตรวจค้นทุกพื้นที่ภายในโรงงาน  แต่ไม่พบขยะพลาสติกที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีการตรวจพบในตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 4 ตู้ ที่ท่าเรือแหลมฉบังเลย  จึงยืนยันได้ว่าบริษัทแห่งนี้ฯ มีการสำแดงเอกสารอันเป็นเท็จจริง  อีกทั้งจากการตรวจสอบเบื้องต้นยังพบว่า บ่อบำบัดน้ำเสียมีลักษณะที่ไม่ได้มาตรฐานและคล้ายกับการสูบน้ำทิ้งออกไปนอกโรงงาน โดยไม่ผ่านการบำบัด เป็นต้น

ด้าน พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผบ.ตร. เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ ตนได้นำเจ้าหน้าที่เข้าไปยังนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง แขวงคลองสามประเวศ  เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ เพื่อตรวจค้นตู้คอนเทนเนอร์ ที่ลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกมาแปรรูป โดยวิธีการสำแดงเท็จว่าเป็นเศษพลาสติก ซึ่งเป็นการขยายผลต่อเนื่องมาจากการตรวจค้นตู้สินค้าร่วมกับเจ้าหน้าที่จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกรมศุลกากร ที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจากการตรวจสอบในครั้งนั้นพบเป็นตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุต จำนวน 4 ตู้ ของบริษัท ลองลัค พลาสติก แอนด์ เมทัล จำกัด ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร  มีการนำเข้าเศษพลาสติกดังกล่าวจากประเทศสหรัฐอเมริกา  โดยเป็นขยะถุงพลาสติกอัดเป็นแท่งขนาดใหญ่ ซึ่งจากการตรวจสอบทำให้เชื่อได้ว่า บริษัทฯ ดังกล่าวมีการสำแดงเท็จว่าเป็นเศษพลาสติกจริง ดังนั้นจึงได้ร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เข้ามาตรวจสอบโรงงานต้นตอที่อ้างว่าเป็นสถานที่รองรับขยะพลาสติกจากทั้ง 4 ตู้ มาเข้าสู่กระบวนการผลิตในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร แต่เมื่อมาตรวจสอบแล้วกลับไม่พบขยะที่มีลักษณะเดียวกับที่พบในตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 4 ตู้เลย และยังไม่พบเครื่องจักรที่จะใช้เพื่อการตัดพลาสติกให้เป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้มีขนาดไม่เกิน 1.2 ซม. ตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าทางผู้ประกอบการมีการสำแดงเท็จว่าเป็นเศษพลาสติกจริง ซึ่งทางผู้บริหารหรือคณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องมีความผิดทางกฎหมายทั้งในส่วนของบุคคลและนิติบุคคล มีโทษทั้งจำและปรับ  อีกทั้งยังจะต้องมีการตรวจสอบด้วยว่า ขยะในตู้คอนเทนเนอร์ทั้ง 4 ตู้นั้น กำลังจะถูกนำส่งไปที่ไหน และก่อนหน้านี้มีการนำเข้าขยะแบบนี้แล้วจำนวนเท่าไหร่ นำเข้ามาแล้วถูกส่งไปยังที่ใดแล้วบ้าง ซึ่งก็จะต้องสืบหาปลายทางที่รับขยะเหล่านี้ไป เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายให้ถึงที่สุด เพราะขยะในลักษณะเช่นนี้ถือเป็นขยะพิษ ขยะอันตรายที่สร้างมลภาวะเป็นพิษให้กับประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก  หากผู้ใดที่ขออนุญาตนำเข้ามาแล้ว ก็จะต้องส่งไปยังสถานที่ที่ระบุในเอกสารเท่านั้น จะไม่สามารถส่งไปยังที่อื่นได้เลย

footer_master

พล.ต.อ.วิระชัยฯ กล่าวอีกว่า ส่วนการเข้าตรวจภายในโรงงานครั้งนี้ ยังไม่พบการกระทำผิดแต่อย่างใดทั้งสิ้น มีเพียงแค่เรื่องของการบำบัดน้ำเสีย และฝุ่นละอองที่อาจจะก่อให้เกิดมลพิษต่อพื้นที่โดยรอบได้  ซึ่งก็ต้องให้กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ทำการตรวจสอบต่อไป  ส่วนของเสียที่เหลือจากอุตสาหกรรม หรือกากอุตสาหกรรมนั้น หากยังเก็บไว้ในพื้นที่โรงงานก็ยังไม่มีความผิด  แต่ถ้านำออกไปจากโรงงาน แล้วไม่ส่งไปทำลายยังสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ทำลายกากอุตสาหกรรม ก็จะต้องมีโทษความผิดตามกฎหมายด้วย ซึ่งก็จะต้องมีการตรวจสอบถึงแหล่งทำลายของเสียจากอุตสาหกรรมที่พบในโรงงานแห่งนี้เพิ่มเติมอีกด้วย

footer_master

footer_master

สุเมธ / ภาพ / ข่าว