รองนายกฉัตรชัย จัดหนัก ! พัง..ซากเรือประมงผิดกฎหมายต่อหน้าทูต 20 ประเทศ

AD WEB CCTV 14-6-60

footer_master

เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561  พลเอกฉัตรชัย  สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี  นำคณะเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย จำนวน 20 ประเทศ  จากสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศสมาชิกอาเซียนลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อตรวจติดตามการรื้อทำลายซากเรือประมง จำนวน 9 ลำ กลางแม่น้ำท่าจีน  พร้อมนำชมการยกระดับประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับของประเทศไทยที่ได้มาตรฐาน โดยมีนายประภัสสร์ มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร  รองผู้ว่าราชการจังหวัด  หัวหน้าส่วยราชการ  ผู้แทนจาก ศปมผ.   กรมประมง และกรมเจ้าท่า ร่วมให้การต้อนรับ

footer_master

สำหรับการรื้อทำลายซากเรือในครั้งนี้ จะมีการทำลายเรือประมงผิดกฎหมายทั้งหมด 9 ลำ จากจำนวน 44 ลำ ของจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งภาครัฐมีการดำเนินการตามกระบวนการอย่างเป็นระบบมีการสำรวจและประชาสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ภายใน 30 วัน ตามระเบียบ การรื้อทำลายเช่นนี้จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนครบ 861 ลำจากเรือประมงผิดกฎหมายจากทั่วประเทศ  เพื่อกำจัดซากเรือประมงนอกระบบทะเบียนเรือไทยให้หมดสิ้นไปจากน่านน้ำไทย  ทำให้ปัญหาการใช้ซากเรือเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบซึ่งเรื้อรังมาเป็นเวลาหลายสิบปีให้หมดสิ้นไปจากประเทศไทย

footer_master

footer_master

พลเอกฉัตรชัย กล่าวต่อไปว่า  นอกจากนี้  รัฐบาลไทยยังได้ให้ความสำคัญในกระบวนการผลิตของสินค้าประมงโดยจะต้องมีคุณภาพมาตรฐาน และไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมาย  รวมถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอน  ซึ่งปัจจุบันไทยได้มีการพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าสัตว์น้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยแยกเป็น 2 ส่วน คือ  ระบบตรวจสอบย้อนกลับสำหรับสัตว์น้ำที่จับโดยเรือประมงไทย  และสัตว์น้ำที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยสัตว์น้ำที่จับโดยเรือประมงไทย  ได้มีการยกระดับประสิทธิภาพระบบตรวจสอบย้อนกลับเพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าและผลิตภัณฑ์ประมงทะเลได้ตลอดสายการผลิตโดยกำหนดให้เรือประมงที่จับสัตว์น้ำต้องจดบันทึกการทำการประมง (logbook) ตามความเป็นจริงทุกครั้ง และมีรายละเอียดของชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำ บริเวณที่จับ และเครื่องมือการทำประมง  เมื่อนำสัตว์น้ำขึ้นที่ท่าเทียบเรือ ชนิดและปริมาณสัตว์น้ำที่ขึ้นท่าจะถูกรายงานโดยท่าเทียบเรือ และเมื่อมีการซื้อขายสัตว์น้ำ ผู้ซื้อผู้ขายต้อง  กรอกข้อมูลชนิดสัตว์น้ำและปริมาณที่ซื้อขายลงในเอกสารกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ เพื่อให้   มีข้อมูลในการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสัตว์น้ำได้ทุกขั้นตอนตลอด  สายการผลิต

footer_master

footer_master

พลเอกฉัตรชัย ยังกล่าวอีกว่า  การที่เอกอัครราชทูตและผู้แทนสถานทูตต่างๆ เข้าเยี่ยมชมระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงไทยในครั้งนี้ จะเป็นการแสดงให้เห็นถึงเส้นทางของผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ตั้งแต่การจับสัตว์น้ำขึ้นมาจากทะเล ผ่านกระบวนการขึ้นท่า ทั้งจากในและต่างประเทศ ส่งต่อเข้ากระบวนการผลิตในโรงงาน จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ประมงเตรียมพร้อมสำหรับการส่งออก ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เพื่อให้นานาประเทศเกิดความมั่นใจและเชื่อถือว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำของประเทศไทย เป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากการทำประมง IUU  นอกจากนั้น ยังเป็นการแสดงให้เห็นบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคอาเซียนที่การทำประมงทั้งระบบว่ามีคุณภาพและมาตรฐานเหนือระดับสากลมีความโปร่งใส และรับผิดชอบในธรรมาภิบาลทางทะเลของโลกด้วย

footer_master

footer_master

วุฒิภักร / ภาพ  กันยารัตน์ / ข่าว