รมว.แรงงาน ลงพื้นที่สมุทรสาครติดตามความสำเร็จภารกิจสแกนม่านตาแรงงานต่างด้าว

AD WEB CCTV 14-6-60

footer_master

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  พร้อมด้วย นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน นายอนุรักษ์ ทศรัตน์ อธิบดีกรมการจัดหางาน และผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่สมุทรสาครแถลงปิดจ๊อบสแกนม่านตาแรงงานต่างด้าวในกิจการประมงทะเล แปรรูปสัตว์น้ำและต่อเนื่องประมง  พร้อมเปิดเผยขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว อีกทั้งยังจัดเก็บอัตลักษณ์ได้เกินเป้าหมาย โดยมีนายประภัสสร์  มาลากาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ ณ องค์การสะพานปลาจังหวัดสมุทรสาคร
footer_master

ด้านพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากการที่กระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลพิสูจน์ตัวบุคคลของแรงงานต่างด้าวโดยการสแกนม่านตา (Iris Scan) ใน 3 ประเภทกิจการ คือ 1. ประมงทะเล 2. แปรรูปสัตว์น้ำ และ 3. ต่อเนื่องประมง ใน 22 จังหวัดชายทะเล ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2560 ตามคำสั่ง คสช. ที่ 49/2560 ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560  โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2561 ซึ่งเบื้องต้นตั้งเป้าหมายแรงงานต่างด้าวไว้ที่จำนวน 168,538 คน  แต่ข้อมูล ณ วันที่27 มีนาคม 2561  กรมการจัดหางานสามารถดำเนินการจัดเก็บอัตลักษณ์ได้เสร็จสิ้นตามเป้าหมายก่อนเวลาที่กำหนด  อีกทั้งยังสามารถจัดเก็บอัตลักษณ์ได้เกินเป้าหมาย คือ 169,955 คน แบ่งเป็นประมงทะเล 57,883 คน และแปรรูปสัตว์น้ำฯ 112,072 คน ซึ่งกระทรวงแรงงานมีแนวทางในการเร่งรัดขับเคลื่อนงานเพื่อให้แล้วเสร็จทันตามกำหนด ดังนี้ 1.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์อัตลักษณ์แรงงานประมง ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยแบ่งโครงสร้างการจัดเป็น 3 ส่วน คือ  ส่วนอำนวยการ ,  ส่วนปฏิบัติการ และ ส่วนสนับสนุน 2.จัดตั้งชุดปฏิบัติการ (กำลังชุดละ 7 นาย) เป็นโมบายทีม 3. กำหนดแผนปฏิบัติ (ACTION PLAN) ของแต่ละชุดปฏิบัติการตามการนัดหมายผู้ประกอบการ 4. กำหนดระเบียบปฏิบัติประจำ การปฏิบัติและรายงานผล 5. แผนฉุกเฉิน เช่น เครื่องพัง /ป่วยเจ็บ / อุบัติเหตุ 6. ประชุมกำหนดเป้าหมาย ซักซ้อมทำความเข้าใจกับทั้ง 22 จังหวัดชายทะเล โดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานหลักในการบริการจัดการใช้เครื่องมือการเก็บอัตลักษณ์ทั้ง 30 เครื่อง/ชุดปฏิบัติ ให้เกิดประสิทธิภาพ ซึ่งเน้นในพื้นที่เป้าหมายที่มีจำนวนแรงงานมาก 7 จังหวัด  ผลจากการขับเคลื่อนงานตามแนวทางดังกล่าว ทำให้กระทรวงแรงงานสามารถจัดเก็บอัตลักษณ์แรงงานต่างด้าวภาคประมงฯ ได้เสร็จสิ้นตามเป้าหมายก่อนวันที่ 31 มีนาคม 2561 โดยจังหวัดสมุทรสาครนี้ สามารถดำเนินการได้ทะลุเป้าหมาย เก็บอัตลักษณ์แรงงานต่างด้าวได้ถึง 68,610 คน แบ่งเป็นประมงทะเล 2,572 คน และแปรรูปสัตว์น้ำฯ 66,038 คน จากเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวน 56,638 คน (เป็นภาคประมงทะเล จำนวน 2,568 คน ต่อเนื่องประมงและแปรรูปสัตว์น้ำฯ จำนวน 54,070 คน)

footer_master

ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า  ที่ผ่านมามีการจัดเก็บดำเนินการภายในศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ OSS เป็นลักษณะตั้งรับ ต่อมากระทรวงแรงงานได้จัดชุดปฏิบัติการ 12 ชุด โดยได้รับการสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงานในจังหวัด และกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนที่ 13 จังหวัดกาญจนบุรี และกองกำลังตำรวจตระเวนชายแดนที่ 14 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยชุดปฏิบัติการได้เข้าไปดำเนินการในสถานประกอบการอีกทางหนึ่ง  ตามแผนการที่ได้กำหนดไว้ร่วมกันกับผู้ประกอบการ สามารถแก้ไขปัญหาได้เรียบร้อยจนเสร็จสิ้นภารกิจ ทั้งนี้การพิสูจน์ตัวบุคคลโดยใช้ลายนิ้วมือกับภาพถ่ายกับแรงงานในกิจการประมงทะเลและกิจการแปรรูปสัตว์น้ำอาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะแรงงานในเรือใช้มือในการทำงานมาก ลายนิ้วมือก็ไม่ชัดเจน แต่การสแกนม่านตาสามารถพิสูจน์ตัวบุคคลได้ทันที  ไม่สามารถบิดเบือนได้  ป้องกันการสวมรอยตัวบุคคล ทั้งยังแก้ปัญหาการจ้างแรงงาน การเปลี่ยนงานได้อีกด้วย

footer_master

footer_master

footer_master

วุฒิภักร / ภาพ กันยารัตน์ / ข่าว