นายกฯประมงลั่น ปลดใบเหลืองไม่ส่งผลต่อประมง

AD-WEB-CCTV-6-12-61

tp-ใบเหลือง EU-01

จากที่เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2562 ในเวลา 11.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ที่ทางกรรมาธิการยุโรปด้านสิ่งแวดล้อม กิจการทางทะเล และประมง ได้ประกาศแถลงการณ์ผลการพิจารณาปลดใบเหลืองประมงไอยูยูของประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับการพิจารณาในครั้งนี้ ณ สำนักงานใหญ่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีกับความสำเร็จที่ทุกภาคส่วน ได้ร่วมมือกันพยายามแก้ไขปัญหาการทำประมงไอยูยูมาโดยตลอด เกือบ 4 ปี นับตั้งแต่ไทยได้ใบเหลืองเมื่อเดือนเมษายน 2558

                        จากเรื่องดังกล่าวนี้ ทางนายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร มองว่า แม้ไทยจะถูกปลดใบเหลืองจากอียูแล้ว ภาคประมงก็ยังเหมือนเดิมไม่ได้มีผลต่อการประมงสักเท่าไหร่ แต่จะส่งผลต่อเรื่องการส่งออกอาหารทะเลไปในแถบยุโรปมากกว่า และผลผลิตจากการประมงในสมุทรสาคร ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ส่งออกเป็นการใช้กันในประเทศ จะส่งออกก็มีเพียง3-4 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนการส่งออกส่วนใหญ่รับวัตถุดิบจากที่อื่นกันแบบเสรี อีกอย่างภาคประมงก็ยังมีกฎหมายตัวอื่นๆควบคุมที่ยังต้องปฏิบัติตามกันต่อไป ซึ่งก็ยังทำให้การประมงทำได้ยากเหมือนเดิม การปลดใบเหลืองก็อาจมาช่วยในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น ให้นานาชาติมองว่า รัฐบาลไทย ประเทศไทยมีความจริงจังและมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ อีกส่วนก็อาจเป็นผลพวงมาจากประเทศไทยกำลังจะมีการเลือกตั้งกับเรื่องที่ไทยจะเตรียมไปรับ C188ด้วย ก็อาจเป็นเหตุผลร่วมที่ทำให้คณะกรรมการของทางยุโรปพิจารณาและปลดไทยให้พ้นใบเหลือง แต่แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่ส่งผลต่อการทำประมงเท่าไหร่ แต่ก็ดีใจที่ไทยพ้นใบเหลืองเสียที

          

                     

tp-ใบเหลือง EU-02

  ส่วนทางด้านนายปรีชา ศิริแสงอารัมพี ประธานบริหารตลาดทะเลไทย       จ.สมุทรสาคร ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสินค้าสัตว์น้ำที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ภาคกลาง บอกว่า กรณีที่ทาง EU ประกาศปลดล๊อคใบเหลืองประเทศไทย ก็สร้างความดีใจเป็นอย่างมาก เพราะจะช่วยทำให้การส่งออกสินค้าประมงของไทยที่ส่งไปจำหน่ายทางประเทศยุโรปดีขึ้นเป็นอย่างมากและไม่ถูกกีดกันอีกต่อไป นอกจากนี้ยังจะส่งผลทำให้ราคาสัตว์น้ำของไทยดีขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณรัฐบาลที่ช่วยผลักดันให้การแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ IUU Fishing นั้น ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี

 

tp-ใบเหลือง EU-03

 

ส่วนในภาพรวมนั้นทางรัฐบาลไทยก็ยังมีความมุ่งมั่นทางการ ที่จะขจัดปัญหาการทำประมงไอยูยู และกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ มีการวางรากฐานระบบป้องกันการทำประมงไอยูยู ไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว ประกอบด้วย 6 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.ด้านกฎหมาย       2.ด้านการบริหารจัดการประมง 3.ด้านการบริหารจัดการกองเรือ 4.ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) 5.ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ และ 6.ด้านการบังคับใช้กฎหมาย

 

 

tp-ใบเหลือง EU-04

เอเซีย/ ภาพ  พรเพ็ญ / ข่าว